คำว่า รากฟันเทียม คำนี้ เมื่อหลายๆ คนได้ยินแล้วก็คิดว่าน่ากลัว แต่จริง ๆ แล้วการทำรากเทียมไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด Dental Implant จะช่วยการแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ ไม่ว่าจะเป็นฟันหน้า หรือ ฟันกราม นอกจากนั้นมีการทำฟันปลอม ครอบฟัน สะพานฟันมายึดกับรากฟันเทียม เพื่อทดแทนฟันที่หลุดไป ซึ่งวิธีนี้จะคล้ายฟันธรรมชาติมากที่สุด และสามารถบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารบัญความรู้ เรื่อง “รากฟันเทียม”
รากฟันเทียม คืออะไร?
รากฟันเทียม (Dental Implant) คือ การแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ รากเทียมที่ทำมาเพื่อทดแทนรากฟันจริง จึงสามารถฝังลงในเหงือก เพื่อให้ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ รากฟันเทียมจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติ
โดยรากเทียมผลิตจากวัสดุ ไทเทเนียม เป็นวัสดุที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับร่างกายของคนเราได้ ใช้ฝังยึดติดกับกระดูกขากรรไกร ทดแทนรากฟันธรรมชาติ รากฟันเทียมจะยึดติดกับตัวครอบฟันที่ทำจากวัสดุเซรามิก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับฟันธรรมชาติ
3 ส่วนหลัก ๆ ของรากเทียม
รากเทียมประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
ส่วน Crown
ส่วนของตัวฟัน ( Crown ) ทำมาจากเซรามิก มีลักษณะสีและรูปร่างคล้ายฟันธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บดเคี้ยวอาหารโดยตรง
ส่วน Abutment
ส่วนที่อยู่ระหว่างรากฟันเทียม ( Abutment ) เเละครอบฟัน ( Crown ) ทำหน้าที่ทดแทนโครงสร้างของแกนฟัน เพื่อรองรับตัวครอบฟัน มักจะใช้ Screw เพื่อยึดติดส่วนนี้ไว้
ส่วน Screw
ส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก ( Screw ) มีลักษณะเป็นสกรู วัสดุทำจากไทเทเนียม Screw ทำหน้าที่เป็นรากฟัน ยึดตัวฟันเทียมให้มีความมั่นคงเเข็งเเรง ด้วยการฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร
อ่านเพิ่มเติม : รากฟันเทียม การทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป (คลิก)
ใครบ้างที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม
รากเทียมเหมาะกับใคร ?
- ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ โดยเฉพาะผู้ที่สูญเสียฟันในบริเวณฟันหน้า หรือฟันที่ไม่สามารถใช้ฟันซี่อื่นหรือบริเวณข้างๆ ได้
- ผู้ที่ต้องถอนฟันแท้ออก เนื่องจากฟันแตก ฟันหัก และต้องทำรากฟันเทียมเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันแท้
- ผู้ที่ไม่ชอบใส่ฟันปลอม
- ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงต้องทำรากฟันเทียมแทน
- ผู้ที่มีปัญหากระดูกขากรรไกรยุบตัว
รากเทียมไม่เหมาะกับใคร ?
- ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี
- ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคมะเร็งที่ต้องรับการรักษาฉายรังสีบริเวณช่องปาก และใบหน้า โรคปริทันต์อักเสบ โรคเบาหวาน เป็นต้น
- ผู้ที่ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ที่สูบบุหรี่
นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำรากฟันเทียม คือ เหงือกบริเวณที่ต้องการทำรากฟันเทียม จะต้องไม่มีการอักเสบ / ติดเชื้อ ถ้าหากมีอาการอักเสบ และติดเชื้อจะส่งผลให้การทำรากฟันเทียมล้มเหลวได้
รากฟันเทียมมีกี่แบบ
ประเภทของรากฟันเทียม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- การฝังรากเทียมแบบธรรมดา ( Conventional Implant ) : สำหรับผู้ที่ต้องการทำรากฟันเทียมซี่เดียว และหลายซี่ วิธีการรักษา คือ เมื่อทันตแพทย์ฝังรากเทียมแล้ว ต้องรอให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกก่อนใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นจึงติดฟันปลอมเข้ากับรากเทียมได้
- การฝังรากเทียมแบบทันที ( Immediate Implant ) : เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรที่ดี ตำแหน่งฟันที่เหมาะจะรักษาด้วยวิธีการนี้ คือ บริเวณฟันหน้าหรือฟันกรามน้อย และจำเป็นต้องมีปริมาณกระดูกที่เพียงพอให้รากฟันเทียมยึดเกาะด้วย วิธีการรักษา คือ สามารถใส่รากฟันเทียมในเวลาเดียวกัน หลังจากที่ทำการถอนฟันได้ โดยใช้ระยะเวลาในการรักษาเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น
- การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม ( Immediate Loaded Implant ) : เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรดี เป็นการเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม ซึ่งสามารถใส่ฟันปลอมได้ทันที เช่น การทำครอบฟันแบบถาวรหรือชั่วคราว หลังจากการฝังรากเทียมบริเวณกระดูกขากรรไกร
รีวิวการทำรากฟันเทียม | เชียงใหม่ เดนทัล คลินิกทันตกรรม
คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ เรามีทีมทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์สูง พร้อมให้คำปรึกษา และออกแบบการรักษาที่เหมาะสมกับปัญหา และความต้องการของคนไข้ ดูข้อมูลหมอฟัน เชียงใหม่ ที่นี่
ก่อนทำรากฟันเทียม เตรียมตัวยังไง
- ก่อนทำการรักษาต้องได้รับการตรวจจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง นอกจากนั้นแล้วทันตแพทย์จะช่วยเลือกรากเทียมที่มีความเหมาะสมกับคนไข้ได้ดีมากที่สุด
- วางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ พร้อมบอกความต้องการ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด
- หากคนไข้มีโรคประจำตัว / มียาที่รับประทานเป็นประจำ / มีประวัติการแพ้ยา ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนทำการผ่าตัด
- หากคนไข้มีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจหรือโรคอื่น ๆ ที่อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะก่อนทำการรักษา ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบล่วงหน้า
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียมมีอะไรบ้าง
- ทันตแพทย์ทำการตรวจช่องปากอย่างละเอียดด้วยการทำ CT Scan เพื่อประเมินความหนาของกระดูกขากรรไกร และเนื้อเยื่อ หรือทำการพิมพ์ปากเพื่อวางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของรากฟันเทียม
- การเตรียมพื้นที่สำหรับการฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์ต้องตรวจสอบสภาวะกระดูก และการติดเชื้อ เพื่อเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมในการฝังรากฟันเทียม หากมีการติดเชื้อต้องทำการรักษาก่อน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น ถ้าหากมีสภาวะที่กระดูกไม่เพียงพอกับการทำการรักษา อาจจะต้องทำการปลูกกระดูกเพิ่มก่อน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด
- การวางรากฟังเทียม ทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร และรออีก 3 – 4 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรอย่างสมบูรณ์
- ระยะการฟื้นฟูหลังผ่าตัด กรณีที่ทำการรักษาฝังรากเทียมแบบทันที ( Immediate Implant ) สามารถดำเนินการรักษาต่อได้เลย แต่หากไม่ได้ทำการรักษาฝังรากเทียมแบบทันที ต้องรอให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกก่อน ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 6 เดือน
- ติดตั้งวัสดุสำหรับเป็นหลักยึด ( Abutment ) วัสดุนี้มีลักษณะเป็นแกนโลหะหัวกลม ติดอยู่กับรากฟันเทียม เมื่อเลือกครอบฟันหรือสะพานฟัน จะมีวัสดุค้ำนี้เพื่อรองรับ ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ตัววัสดุหลักยึดจะรวมเป็นชิ้นเดียวกับรากฟันเทียมเลย
- หลังจากนั้นใช้ระยะเวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ สามารถทำการพิมพ์ปาก เพื่อส่งทำครอบฟัน
- ทันตแพทย์ใส่ครอบฟัน หรือ overdenture ไว้กับโลหะที่เป็นหลักยึด ถือว่าเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
อ่านเพิ่มเติม : ขั้นตอนการฝังรากฟันเทียม เชียงใหม่ (คลิก)
อาการหลังการทำรากฟันเทียม
คนไข้อาจมีอาการบวมเกิดขึ้นได้ หากหลังผ่าตัด 1- 2 วัน มีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ มีหนอง มีอาการชาบริเวณปาก ลิ้น ริมฝีปาก คาง ปวดบวมหรือมีเลือดออก ให้รีบมาพบทันตแพทย์ทันที
สรุป
การทำรากฟันเทียมไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำได้ หรือบางคนทำได้แต่ต้องใช้ระยะเวลา เพราะเหงือกไม่แข็งแรง และกระดูกของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินโดยละเอียดของทันตแพทย์ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความต้องการจะการทำรากเทียม ควรปรึกษาทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อวางแผนการรักษา และผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา โดยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
ที่คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ CIDC มีบริการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันครบวงจร โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าจะมีสุขภาพช่องปาก และฟัน พร้อมรอยยิ้มที่สวยงามกลับไปแน่นอน
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรมเชียงใหม่
เชียงใหม่เดนทัล คลินิกทันตกรรม (CIDC)
อีเมล์ : contact@chiangmaidentist.com
มือถือ : 095-517-5782
โทร : 052-089-323 หรือ 052-089-322