บริการทางทันตกรรม > ทันตกรรมรากฟันเทียม
ทันตกรรมรากฟันเทียม (Dental implant) คือ การเทคโนโลยีการทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เช่นจากการถอน ฟันแตก หรือฟันผุลึกเป็นต้น รากฟันเทียม ผลิตจากไททาเนียม หรือวัสดุผสมเซรามิค ซึ่งสามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ดี ออกแบบมาเพื่อใช้ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ในตำแหน่งที่สูญเสียรากฟันธรรมชาติไป ซึ่งตัวรากฟันเทียมนี้จะสามารถรองรับการใส่ครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมทั้งปากเพื่อให้สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมือนฟันธรรมชาติ
สารบัญรากฟันเทียม เชียงใหม่
- ประเภทของการทดแทนฟันสูญเสียไป
- รูปแบบการฝังรากเทียม
- ขั้นตอนการฝังรากฟันเทียม
- ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
- ราคา โปรโมชั่นรากฟันเทียม 2024
- คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำรากเทียม
- รีวิวการรักษารากฟันเทียม
- ทำรากฟันเทียมที่ไหนดี ?
โปรโมชั่นรากฟันเทียม 2024
- ทันตแพทย์รากเทียม จะทำการตรวจในช่องปากรวมถึงการถ่ายภาพเอกซเรย์ , CT Scan และพิมพ์แบบจำลองฟันเพื่อวินิจฉัย และวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับแตละบุคคล
- ทำการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมที่กระดูกขากรรไกร จากนั้นรอให้รากเทียมผสานติดกับกระดูกโดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือนจึงจะนัดผู้ป่วยกลับมาเพื่อประเมินอีกครั้ง
- เมื่อรากเทียมยึดติดแน่นสนิทดีแล้ว ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ฟันและดำเนินขั้นตอนทางเทคนิคทันตกรรมเพื่อทำครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมต่อไป
- หลังจากใส่รากเทียมรวมถึงฟันปลอมในช่องปากแล้ว ทันตแพทย์จะนัดตรวจการใช้งานและสุขภาพฟันทั่วไปทุกๆ6 เดือน
รากฟันเทียมแบบ Immediate loading
เป็นการทำรากฟันเทียมที่ทำการต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ เช่น ครอบฟันไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว หรือแบบถาวร ไปที่รากฟันเทียมพร้อมกับขั้นนตอนในการฝังรากฟันเทียม โดยจะช่วยลดระยะเวลาของการรอการยึดติดของรากเทียม และช่วยในเรื่องของความสวยงามเนื่องจากคนไข้จะสามารถมีฟันทดแทนได้อย่างรวดเร็ว
รากฟันเทียมแบบ Immediate Placement
เป็นการฝังรากเทียมทันทีพร้อมกับการถอนฟันธรรมชาติ โดยมีข้อดี คือลดขั้นตอนและระยะเวลาในการรอการหายตัวของแผลตามปกติ อีกทั้งยังช่วยลดการละลายของกระดูก ลดโอกาสการเกิดเหงือกร่นอีกด้วย
โดยตำแหน่งฟันที่เหมาะจะทำด้วยวิธีนี้มักจะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย รวมถึงไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันของฟันที่จะถอน และต้องมีปริมาณกระดูกในบริเวณที่จะทำเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดอยู่ได้
รากฟันเทียมแบบ Conventional
การฝังรากเทียมโดยขั้นตอนทั่วไป เริ่มจากการถอนฟันธรรมชาติเดิมที่มีในช่องปาก และรอให้มีการหายของแผล จากนั้นทำการผ่าตัดเล็กเพื่อฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร หลังจากฝังรากเทียมแล้วจะต้องรอให้รากเทียมและกระดูกยึกติดกันเต็มที่ ประมาณ 3-4 เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของกระดูก และทันตแพทย์ก็จะทำฟันเทียมยึดกับรากเทียมต่อไป
ขั้นตอนการปลูกรากฟันเทียมโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นตอนการปลูกรากฟันเทียม โดย ผศ.รท.ทพ.ปรีดา พึ่งพาพงศ์ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ (BIDC)
ศูนย์ทันตกรรม BIDC ได้รับการรับรองมาตราฐาน JCI accredited จากประเทศสหรัฐอเมริกา เราให้การรักษาทันตกรรม และโดยทันตแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขา ศูนย์ทันตกรรม BIDC ยังเพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีทางทันตกรรม ด้วยราคาค่ารักษาระดับมาตรฐานสำหรับคนไข้ เรายังให้ความสำคัญกับการทำปลอดเชื้อเครื่องมือทันตกรรมเป็นอย่างยิ่ง รวมถืงสถานที่ให้การรักษาทันตกรรมที่สะอาด สะดวกสบาย
อ่านเพิ่มเติม : ข้อดีของการใส่รากฟันเทียม (คลิ๊ก)
ข้อจำกัดของการทำรากฟันเทียม
- ผู้ที่มีกระดูกในขากรรไกรไม่เพียงพอในบริเวณที่จะทำการฝังรากเทียม (ในบางกรณีสามารถแก้ไขได้ด้วยการปลูกกระดูกร่วมกับการฝังรากเทียม)
- สาเหตุทางด้านสุขภาพ หรือโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้สภาพช่องปากแลกระดูกขากรรไกรไม่เหมาะกับการฝังรากเทียม เช่น โรคกระดูกพรุน หรือโรคมะเร็งที่ได้รับการฉายแสงเป็นต้น
- ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความล้มเหลวในการรักษา
- ผู้ที่ยังอยู่ในวัยเจริญเติบโต โดยควรที่จะรับการฝังรากเทียมหลังจากที่หมดการเจริญเติบโตของใบหน้าและขากรรไกรแล้ว
ภาพรีวิวจากผู้รับบริการ CIDC เชียงใหม่
Mr. Yves Perrenoud
(from Swizerland)
Mr. Eric George Bonfield
(from Canada)
Mr. Allan Mcleod
(from USA)
Mr. Mark Smith
(from New Zealand)
Mr. Willem
วีดีโอรีวิวจากผู้รับบริการ CIDC เชียงใหม่
ที่ศูนย์ทันตกรรมเชียงใหม่ อินเตอร์ เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน เครื่องมือทางทันตกรรมได้รับการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์
เดินทางสะดวก บนถนนนิมมาน เพื่อให้มาพบทันตแพทย์ได้ง่ายขึ้น
การบริการที่ได้มาตรฐานสากล ศูนย์ทันตกรรมเชียงใหม่ อินเตอร์ เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์ทันตกรรมที่มีเครือข่ายในกรุงเทพ และจังหวัดภูเก็ต มีประสบการณ์ให้บริการทันตกรรมกว่า 20 ปี